ช่างสักมือใหม่ มักมีปัญหาในเรื่องของการเลือกใช้เข็มสัก ผมจะไม่พูดถึงคุณภาพ และค่ายในการทำเข็มออกมานะครับ แต่จะพูดถึง รูปแบบลักษณะของเข็ม และ การนำไปใช้งาน
ส่วนใหญ่ เครืองสักสำหรับมือใหม่ ที่ขายๆกันอยู่ตามท้องตลาดมักจะมีเข็มมาพอให้ฝึกให้ใช้งานกันไม่ค่อยมากสักเท่าไร อาจจะเป็นเพราะว่าต้นทุนสำหรับเครืองสักที่ ถูกออกแบบมาให้ขายเป็นชุดสักอาจจะจำกัดในเรืองของต้นทุนราคา เข็มเลยได้มาไม่เยอะ
โดยเข็มจะจำแนกได้ดังนี้นะครับ
เข็มสัก RL
เข็ม RLย่อมาจาก round liner needles (เข็มเดินเส้น) ลักษณะของเข็มเดินเส้นจะเป็นเข็มกลมที่อัดมาเป็นกระจุก ทำให้เวลาทำงาน จะเกิดเป็นการอัดสีรวมตัวเป็นจุดเดียวได้ง่าย
RL SERIES มีขนาดเบอร์ ตามภาพ
เข็มสัก RS
เข็ม RS ย่อมาจาก round shader needles (เข็มลงสี) ลักษณะของเข็มลงสี จะคล้ายกับ เข็มสัก RL แต่เข็ม RS จะกระจายตัวออกเพิ่มพื่นที่ในการทำงาน ในเวลาลงสี ส่วนใหญ่จะใช้งานกับการถมสีที่มีพื่นที่ไม่ใหญ่มากนักและต้องการความหนาแน่นของเนื้อสีเพื่อความคมชัด สวยงามยิ่งขึ้น
RS SERIES มีขนาดเบอร์ ตามภาพ
เข็มสัก M1
เข็ม M1ย่อมาจาก Magnum needles (เข็มปัดเงา) ลักษณะของเข็มจะเป็นแบบสลับฟันปลา ส่วนใหญ่มักใช้ในการทำงานปัดเงา หรือ งานถมสีในพื้นที่ทีมีขนาดใหญ่ ช่างสักมือใหม่ส่วนใหญ่มักมีปัญหาในการถมสีกับเข็ม M1 ซึงสีที่ลงบนผิวมักไม่สม่ำเสมอ (แนะนำดูหัวข้อการลงสี) และซีดจาง การใช้งานเข็มประเภทนี้ช่างที่เคยผ่านการทำงานมานานมักจะคุ้นเคย และไม่ค่อยมีปัญหาเ
M1 SERIES มีขนาดเบอร์ ตามภาพ
เข็มสัก RM
เข็ม RM ย่อมาจาก curved Magnum Needles (เข็มโค้ง) ลักษณะของเข็มขอบด้านข้างจะโค้งมน และ ใช้งานกับลายสักที่มีส่วนเว้าโค้งและเข็มสามารถเก็บงานได้ดี ซึ่งไม่เหลี่ยม เหมือนกัน M1
RM SERIES มีขนาดเบอร์ ตามภาพ
เข็มสัก F
เข็ม F ย่อมาจาก Flat Needles (เข็มแบบเรียง) ลักษณะของเข็มจะมีแถวเดียว เหมาะสำหรับการปัดเงาในพื่นที่งานที่มีความละเอียดเยอะๆ ไม่ได้เน้นเรืองการอัดสี เป็นเน้นในเรืองการเกลี่ยสีให้มีความเรียบสวยงาม ไม่ทำลายเนื้อผิวเท่ากับ M1 ส่วนตัวแล้วชอบเอาเข็มประเภทนี้มาใช้งานกับผิวหนังที่ผ่านการสักมาแล้ว และเพิ่มความละเอียดโดยการไม่ทำให้ผิวเกิดอาการช้ำ
F SERIES มีขนาดเบอร์ ตามภาพ
นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วยังมีเข็มอีกหลายประเภทที่ใช้งานกัน แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก และสามารถจำแนกได้ดังรูปด้านล่าง เราสามารถให้รูปนี้ เป็นการเลือกใช้เข็มในการทำงานได้ ตามหลักแล้วเข็มมันไม่ได้มีอะไรที่ต้องยึดติดว่าจะต้องใช้งานแบบนั้นแบบนี้ หากเราถนัดแล้วทำงานออกมาดี เราก็เลือกใช้ในสิ่งนั้นจะดีที่สุด
ภาพแสดงลักษณะรูปแบบเข็มสักทั้งหมด
จบแล้วครับ สำหรับเรืองเข็ม การใช้งานเข็มนั้นก็เลือกใช้ตามความเหมาะสมความถนัดของแต่ละบุคคล หวังว่า บทความนี้มีประโยชน์กับเพื่อนๆไม่มากก็น้อย ลองศึกษากันและฝึกกันนะครับ แล้วเจอกันบทความต่อไป เรืองการเลือกซื้อ อุปกรณ์ในการฝีกเรียนสักครับ ขอบคุณครับ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฝากติดตามช่อง Youtube ใหม่ด้วยนะครับ