วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การเดินเส้นเบื้องต้น

การเดินเส้นเบื้องต้น


การลงเส้นเบื้องต้น
การเริ่มต้นครั้งแรกของช่างสักทุกคน ทีไม่อาจจะลืมในชีวิต คือการลงเข็มครั้งให้คนอื่น แต่ที่ติดตาตรึงใจ คงไม่ใช้อะไรหรอกครับ คงเป็นความทรงจำเล็กๆ ที่ทำงานให้คนแล้วเกิดความผิดพลาดบ้างนิดหน่อย ปัญหาเรืองของการลงเส้น และวิธีการเดินเส้นตามวิธีที่ผมใช้ ส่วนใครมีเทคนิคอะไรดีดี ลองมาลงกันได้ในโพสต์นี้
---------------------------------------------------------------------------------------
เข็มที่ใช้ลงเส้น ที่ใช้กันจริงๆ จะเป็นรหัส RL แทบทั้งสิ้นนะครับ ส่วนการใช้งานจะมีสองลักษณะต่อไปนี้
1. การใช้เข็มเบอร์ให้เหมาะกับหน้างาน เข็มRL ที่เล็กที่สุดจะเป็น 1Rl ซึ่งใช้เข็มเดียว คร่าวเอาปลายเข็มมาทาบดูกับงานที่ทำว่าควรใช้เข็มเบอร์อะไร เพราะลงเข็มไปแล้วจะได้เส้นขนาดเท่าที่คุณเลือกใช้
2 การใช้เข็มที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นงานจริง แล้วมาทำให้เป็นเส้นขนาดใหญ่ หรือ อาจจะทำงานที่มีเส้นไม่เท่ากันโดยการใช้เข็มขนาดเดียว
----------------------------------------------------------------------------------------
วิธีการลงเส้น
เคลียร์หน้างานให้เรียบร้อยโดยการทำสะอาดและโกนขนให้เรียบร้อยเพราะป้องกันเข็มสะดุดเวลาทำงาน จากนั้นลอกลายลอกแบบเขียนแบบแล้วแต่คุณจะทำกันให้พร้อมสำหรับการเดินเส้น
เครืองทุกเครืองก็ให้ดูการใช้งานที่ผมบอกในปักหมุดนะครับ ส่วนต่อไปนี้เป็นวิธีการและเทคนิคการเดินเส้นที่ผมใช้ เป็นประจำ
ความเร็วเฉลี่ยทีผมใช้เดินเส้นคือ 1 เซนต่อ 1 วืนาที เพราะว่าเราจะทำงานได้เร็ว และเส้นจะไม่ช้ำมาก ปลายเข็มที่ออกมาจากตัวปลายกระบอกไม่ควรยาวเกิน 3 มิล ส่วนที่ลงไปในผิวไม่ควรลึกเกินกว่า 1.5 มิล ความแรงของเครืองและไฟต้องพอเหมาะซึ่งผมได้กล่าวมาแล้วข้างต้นในปักหมุดว่า ไฟเดินเส้น ไม่ว่าเครืองตัวไหน ส่วนใหญ่ผมใช้อยู่ไม่เกิน 6-7 ให้บวกลบได้ไม่เกิน 0.5
การเดินเส้นควรใช้วาสลินให้การทำให้เข็มไม่สดุด และสีจะลงง่ายขึ้น การทวนเข็มจะดีง่ายกว่าการเดินเส้นแบบตามเข็ม ควรระวังเรืองการเอียงเข็มเพราะทำให้กินเนื้อที่ส่วนที่ไม่จำเป็นอาจจะเกิดเส้นที่ใหญ่กว่าที่ต้องการ
ดึงหนังบริเวณที่จะสักให้ตึงเสมอเพื่อเข็มจะได้ลงไปได้ ไม่ต้องมาซ้ำ เส้นที่เดินจะได้เรียบและเก็บงานครั้งเดียว
การเดินเส้นที่มีความยาวเกินกว่า 10 Cm หากมีความแม่นพอก็เดินไปจนกว่า สีจะหมด ส่วนใครที่ยังไม่ถนัดก็ให้ลองเก็บงานทีละ 1-2 เซน จึงหยุดแล้วมาต่องาน การต่องานควรทับเส้นก่อนหน้านี้เสมอแต่น้องแม่นๆ ไม่งั้นเส้นอาจจะพลาดและดูเหมือนมีรอยต่อ
การลงเส้นโค้ง หากไม่มีความชำนาญพอให้เดินที่น้อยๆ ครั้งละ 1-2 เซนต์เช่นกัน หากใครคิดว่าตัวเองแม่นแล้วก็ผ่านไปเลยครับ เส้นที่ออกมันจะคมและโค้งเข้ารูป
ส่วนการลงเส้นแบบใช้เข็มเล็กกว่าทำงานเส้นใหญ่กว่า ก็ทำเช่นเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้นแต่มันจะเหมือนกับการถมสี โดยใช้เข็ม RL ฉนั้นการลงสีกับ RL ต้องมีความไว ไม่งัั้น ผิวอาจจะช้ำและฉีกขาดได้ครับ
*****ข้อสังเกตุ*****
การทำงานเส้นโดยจับเครื่องดึงเข้ามาหาตัวจะได้เส้นที่ดีเป็นส่วนใหญ่ และสามารถควบคุมเครื่องได้ง่าย*****""
นอกเหนือจากการใช้ RL ลงเส้นแล้ว เรายังสามารถใช้เข็ม RS ใช้ทำงานเส้นขนาดใหญ่ได้อีกด้วย


-------------------------------------------------------


ดาวน์โหลดคู่มือ  ช่างสักมือใหม่ ที่นี่


---------------------------------------------------------------------------------
ฝากติดตามช่อง Youtube ใหม่ด้วยนะครับ
-------------------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น